สารอาหาร กรดโฟลิก

กรดโฟลิก กินแค่ไหนจึงจะพอแม่กลุ่มทั่วไป คือกลุ่มที่ไม่เคยมีประวัติว่าลูกหรือญาติมีความพิการแต่กำเนิด เมื่อตั้งครรภ์กรดโฟลิกในตัวแม่จะลดลง เนื่องจากถูกดึงไปใช้ในการสร้างตัวอ่อน ดังนั้นควรได้รับอย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม (0.04 มิลลิกรัม) จึงจะช่วยลดอุบัติการณ์ความพิการแต่กำเนิดได้มากกว่า 50% แต่ถ้าไม่ได้รับกรดโฟลิกก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดความพิการแต่กำเนิดมากกว่า 50% เช่นกันแม่ในกลุ่มเสี่ยง คือกลุ่มที่มีประวัติว่าลูกหรือญาติเคยมีความพิการเกิดขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ความพิการของกะโหลก ระบบประสาทส่วนกลาง สมองพิการแต่กำเนิด โรคปากแหว่งเพดานโหว่ หรือแม่เป็นโรคโลหิตจาง เป็นต้น
แม่กลุ่มนี้จะต้องได้รับกรดโฟลิกเพิ่มเป็นวันละประมาณ 40,000 ไมโครกรัม (4 มิลลิกรัม) คือมากกว่าแม่กลุ่มปกติประมาณ 100 เท่าค่ะกรดโฟลิก หาง่าย & สูญสลายง่ายหาง่าย บ้านเรามีอาหารที่มีกรดโฟลิกให้เลือกมากมาย เพราะมีอยู่ในผักใบเขียวเกือบทุกชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ปวยเล้ง ผักกาดหอม หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี ถั่วลันเตา ธัญพืชต่างๆ ผลไม้ตระกูลส้ม ที่สำคัญหากได้รับกรดโฟลิกแบบครบคุณค่าควรกินแบบสดๆ หรือถ้าจะลวกก็ต้องทำด้วยความรวดเร็วค่ะสูญสลายง่ายการปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนนานๆ จะทำให้กรดโฟลิกสูญสลายได้ง่ายหากมีอาการตัวร้อนและเป็นไข้หลายวัน ด้วยอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นทำให้ระดับกรดโฟลิกในร่างกายลดลงได้เช่นกันการได้รับยารักษาโรคลมชัก คนที่เป็นโรคลมชักและต้องกินยาเป็นประจำ ยาตัวนี้จะเข้าไปต่อต้านการสร้างโปรตีนและลดการดูดซึมของกรดโฟลิก ดังนั้น คุณแม่ที่มีภาวะลมชักอยู่จะต้องกินโฟลิกให้มากขึ้นประมาณ 10 เท่าจากที่กินอยู่เดิมค่ะ การวางแผนกินกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า และคุ้มเวลาแห่งการรอคอยของคนเป็นแม่แน่นอนค่ะ

[ที่มา: นิตยสาร รักลูก ฉบับที่ 299 เดือนธันวาคม พ.ศ.2550]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น